หน่วยลงทุน คือ สินค้าทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ที่ได้จากการรวบรวมเงินทุนของนักลงทุน (เรียกว่า ผู้ถือหน่วยลงทุน) จำนวนมาก เพื่อนำเงินทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ หลักทรัพย์ในตลาดเงิน หรือตราสารเหล่านี้รวมกัน ซึ่งหลักทรัพย์เหล่านี้จะถูกบริหารจัดการโดยมืออาชีพแทนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยแต่ละคนจะถือครองสัดส่วนของเงินกองทุน และได้รับสิทธิ์จาก มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนที่เพิ่มขึ้น เงินปันผล ดอกเบี้ย และสิทธิประโยชน์ต่างๆ แต่ผู้ถือหน่วยก็มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียในมูลค่าของหน่วยลงทุนเช่นกัน
ประเภทของหน่วยลงทุนจะแบ่งตามวัตถุประสงค์การลงทุน เนื่องจากแต่ละหน่วยลงทุนมีวัตถุประสงค์การลงทุนที่เฉพาะเจาะจง เช่น การเติบโตของเงินทุน ป้องกันเงินลงทุน เพื่อรายได้ปัจจุบัน หรือรายได้ที่ยกเว้นภาษี ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้กำหนดประเภทของหน่วยลงทุนไว้ตามตราสารที่ลงทุนโดยละเอียด ซึ่งสามารถดูข้อมูลดังนี้
การลงทุนในกองทุนประเภทต่าง ๆ
Risk profile
|
ระดับความเสี่ยง
|
ประเภท
|
ประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนเป็นหลัก
|
เสี่ยงต่ำ |
1
|
กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ |
- มีนโยบายลงทุนเฉพาะในประเทศไทย โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก หรือตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลอื่นตามที่สำนักงานกำหนด ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกำหนดชำระคืน หรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญานั้น และมี portfolio duration ในขณะใดขณะหนึ่ง ไม่เกิน 3 เดือน
|
เสี่ยงปานกลาง ค่อนข้างต่ำ |
2
|
กองทุนรวมตลาดเงิน |
- มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของ NAV โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก หรือตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลอื่นตามที่สำนักงานกำหนด ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญานั้น รวมทั้งมี portfolio duration ในขณะใดขณะหนึ่ง ไม่เกิน 3 เดือน
|
3
|
กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล |
- มีนโยบายเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
|
4
|
กองทุนรวมตราสารหนี้ |
- มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
|
เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง |
5
|
กองทุนรวมผสม |
- มีนโยบายลงทุนได้ทั้งในตราสารทุนและตราสารหนี้
|
เสี่ยงสูง |
6
|
กองทุนรวมตราสารทุน |
- มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนเป็นหลักโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV
|
7
|
กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม |
- มีนโยบายมุ่งลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในตราสารทุนเพียงบางหมวดอุตสาหกรรม โดยเฉลี่ยรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
|
เสี่ยงสูงมาก |
8*
|
กองทุนที่มีการลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก |
- มีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนหรือมีโครงสร้างซับซ้อน เข้าใจยาก เช่น commodity/gold fund /oil fund/derivatives ที่ไม่ใช่เพื่อ hedging ซึ่งรวมถึง ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่ไม่คุ้มครองเงินต้น
|
หมายเหตุ
- กรณีกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ขายต้องเตือนผู้ลงทุนถึงความเสี่ยง FX ในทุกกรณี ไม่ว่าผู้ลงทุนจะมี risk profile อย่างไร
- การขายกองทุนประเภทเสี่ยงสูงมาก ผู้ขายจะต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุนถึงลักษณะของกองทุนและความเสี่ยงโดยละเอียดในทุกกรณี
กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์การจัดระดับความเสี่ยงคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบด้วย
- ความเสี่ยงของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะอยู่ในระดับตั้งแต่ระดับ 4 ถึง ระดับ 8
- ประเภทของกองทุน freehold leasehold infrastructure fund เช่น กองทุน leasehold จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุน freehold ในเรื่องมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจะมีลักษณะทรัพย์สินและเงื่อนไขในสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ซับซ้อนกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จึงอาจมีความเสี่ยงสูงกว่า
- ทรัพย์สินที่ลงทุนสามารถหาประโยชน์ได้แล้ว หรือยังจัดหาประโยชน์ไม่ได้ (อยู่ระหว่างก่อสร้าง) ซึ่งหากยังจัดหาประโยชน์ไม่ได้จะมีความเสี่ยงสูงกว่า เนื่องจากอาจเกิดกรณี project delay หรือ cost overrun
- การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน (กอง infrastructure fund) เช่น หน่วยลงทุนชนิดคล้ายทุน (equity tranche) มีความเสี่ยงสูงกว่าหน่วยลงทุนชนิดคล้ายหนี้ (debt-liked tranche) ซึ่งมีลำดับสิทธิใกล้เคียงกับเจ้าหนี้
- track record ของอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน โดยกรณีอสังหาริมทรัพย์ที่จัดหาประโยชน์มาช่วงเวลาหนึ่งแล้วจะมีลูกค้ารองรับอยู่ จึงทำให้ประเมินศักยภาพ ในการจัดหาประโยชน์ได้ง่ายกว่าและน่าจะมีความเสี่ยงในการจัดหาลูกค้าต่ำกว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มี track record
- การมีผู้เช่าหลัก เช่น กรณีกองทุนปล่อยเช่าโดยตรงให้กับผู้เช่าหลายราย แม้จะมีโอกาสได้รับค่าเช่ามากกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงจากการต่ออายุสัญญาเช่าหรือการจัดหาลูกค้ารายใหม่ มากกว่าการปล่อยเช่าให้แก่ผู้เช่ารายเดียวที่เป็นเจ้าของเดิมที่เช่าทรัพย์สินกลับจากกองทุน แล้วนำไปปล่อยเช่าช่วง
- ลักษณะการจัดหาประโยชน์ เช่น การกำหนดค่าเช่าคงที่/ผันแปร (สัดส่วนที่กองทุนจะได้รับ) ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของกองทุน
- ระยะเวลาของสัญญาเช่า และการต่ออายุสัญญาเช่า เช่น หากกองทุนมีสัญญาเช่าระยะยาวและจดทะเบียนการเช่า จะมีความเสี่ยงในการจัดหาผู้เช่าต่ำกว่ากรณีมีสัญญาเช่าระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี)
- การค้ำประกันรายได้ และความสามารถของผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกัน เช่น การจัดให้มีหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่มีอายุ การค้ำประกันและวงเงินครอบคลุมตลอดระยะเวลาค้ำประกัน (เช่น ระยะเวลาค้ำประกัน 3 ปี อายุหนังสือธนาคาร 3 ปี วงเงินเท่ากับผลรวมของรายได้ที่ ค้ำประกันตลอด 3 ปี) จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าหนังสือค้ำประกันแบบปีต่อปี
|