Main Menu
Call Center 02 635 1718
  • Switch Language
  • ไทย
  • Eng

ทั่วไป

การซื้อกองทุนรวมที่ธาคารนั้น ลูกค้าสามารถซื้อกองทุนรวมได้ค่อนข้างจำกัดเฉพาะเท่าที่ธนาคารมีจำหน่ายให้เฉพาะ บลจ.เดียวที่เป็นเครือเดียวกันกับธนาคารเท่านั้น

แต่การซื้อกองทุนรวมกับฟิลลิป ฟันด์ ซุปเปอร์มาร์ทนั้น เนื่องจากบริษัทฯตัวแทนจำหน่ายให้กับ 18 บลจ.จากทั้งหมด 19 บลจ. ทำให้ท่านสามารถเลือกกองทุนที่น่าสนใจลงทุนและเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ท่านสามารถรับได้

อีกทั้งการลงทุนในกองทุนรวมนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและเพียงพอจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ๆมีใบอนุญาตติดต่อผู้ลงทุนประเภท “ข” การซื้อ-ขายผ่าน กับฟิลลิป ฟันด์ ซุปเปอร์มาร์ทนั้น ท่านมั่นใจได้ว่ากำลังติดต่อกับที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตติดต่อผู้ลงทุนประเภท “ข” ที่มีความรู้ความสามารถ และนำเสนอข้อมูล ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ โดยเน้นให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของลูกค้าเป็นสำคัญ

อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีนักวิเคราะห์กองทุนซึ่งเป็น แห่งแรกของประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ความเห็น และแนะนำเกี่ยวกับกองทุนรวมต่าง ๆ โดยบทวิเคราะห์นั้นจะอ้างอิงหลักวิชาการเน้นความเป็นกลาง โดยปราศจากอคติใดๆในการแนะนำลงทุน 

การซื้อ-ขายกองทุนรวมกับกับฟิลลิป ฟันด์ ซุปเปอร์มาร์ทนั้น ท่านจะได้ราคาซื้อ-ขายเดียวกันกับที่ท่านซื้อ-ขายกับธนาคารหรือ บลจ. ในส่วนบริการต่างๆเพิ่มเติมที่ท่านได้รับนั้น เป็นบริการเสริมที่บริษัทฯมอบให้กับลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติม
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ความรู้เรื่องการลงทุนคือสิ่งที่เราไม่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากหากเรามีความรู้ในการลงทุน จะทำให้เราบริหารเงินของเราให้งอกเงยขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นในบั้นปลายของชีวิต

อย่างไรก็ตามหากเรายังไม่เคยมีความรู้ในการลงทุน โดยเคยแต่ฝากเงินธนาคาร การลงทุนในกองทุนรวมนั้นจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการที่เราจะเริ่มเรียนรู้เรื่องลงทุน เนื่องจากมีมืออาชีพบริหารกองทุน ผู้จัดการกองทุนนั้นเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน และได้รับการอบรมผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาแทนคุณว่าจะซื้อ จะขาย จะลงทุนเมื่อไร ตราสารทางการเงินประเภทไหน ตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองที่ตั้งไว้

การลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีกองทุนหลากหลายให้เลือกมากมาย ทั้งกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง ในกรณีที่ท่านเคยแต่ฝากเงินไว้ในธนาคารอย่างเดียว ในช่วงเริ่มต้นนี้ท่านอาจเริ่มลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำลงทุนในตราสารภาครัฐอีกทั้งผู้ลงทุนยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

เมื่อท่านเริ่มมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว ท่านอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีคววมเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เช่นกองทุนตราสารทุน 

ขอเริ่มในส่วนของกองทุน RMF ก่อน การที่รัฐบาลได้จัดให้มีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ขึ้นนั้น เพื่อเป็นทางสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินเพื่อการเกษียณ ดังนั้นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จึงมีนโยบายการลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงหลากหลายตั้งแต่กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ จนถึงกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนรวมตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับ ระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนสามารถรับได้

สำหรับคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงนั้น กองทุนรวมตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ลงทุนประเภทนี้

กองทุนรวมตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ และมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี กองทุนรวมตลาดเงินมีนโยบายการลงทุนที่คล้ายคลึงกับ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำสุดเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง


ในส่วน LTF นั้น

เราอาจแบ่งกองทุน LTF ตามลักษณะการลงทุนไว้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการลงทุนหรือความเสี่ยงของกองทุนดังนี้

 

  ประเภท เหมาะสำหรับ
1  กองทุน LTF แบบลงทุนในหุ้นเป็นหลัก
  แม้ว่ากองทุนรวมตราสารทุน ทั้งแบบทั่วไปและแบบ LTF นั้นจะมีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 แต่กองทุน LTF ในหมวดนี้มักลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นมากกว่า 90%  ลงทุนหุ้น > 90%  
 - คนรับความเสี่ยงได้สูง กล้าได้กล้าเสีย
 - หรือตลาดหุ้นอยู่ในช่วงดัชนีไม่สูง (ตามความคิดของเรา)
 - วงจรเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น
2  กองทุน LTF แบบ 70/30
  ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 70% อีก 30% ลงทุนในตราสารหนี้ หรือเงินฝาก 
 - คนรับความเสี่ยงได้สูง แต่ต้องการลดความเสี่ยงบางส่วน มาอยู่ในตราสารหนี้
3  กองทุน LTF แบบลงทุนในหุ้น และอนุพันธ์
  เพื่อลดความเสี่ยงจากหุ้น   หุ้น 65%  + short future 65% หรือ 55-65% แล้วแต่แต่ละกอง  
 - คนรับความเสี่ยงได้ต่ำ
 - หรือบริหารความเสี่ยงในช่วงตลาดหุ้นหรือดัชนีหุ้นสูง


สำหรับกองทุน LTF ประเภท 3   มีดั้งนี้   SCBLTF,  1SMART-LTF,  KSDLTF  ซึ่ง ปัจจุบันทาง กลต. ไม่อนุญาตให้ออกกองทุน LTF ประเภท 3 นี้แล้ว และไม่อนุญาตให้ลงทุนซื้อเพิ่ม แต่สำหรับกรณีที่นักลงทุนได้ซื้อไว้ก่อนที่ กลต.จะออกข้อกำหนดนี้ขึ้นจะยังสามารถถือกองทุนต่อไปได้ และสามารถขายออกได้เมื่อครบกำหนดตามเกณฑ์การลดหย่อนภาษี

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่ของ ฟิลลิป ฟันด์ ซุปเปอร์มาร์ท
ที่หมายเลข 02 635 17 18 

 

ท่านอาจลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี, เงินฝากธนาคาร บัตรเงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากสถาบันการเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงินสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ต่าง ๆ ที่ครบกำหนดชำระเงินไม่เกิน 1 ปี ในที่นี้อาจจะเรียกว่าเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
ข้อดีของ กองทุนรวมตลาดเงินคือ เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในบรรดากองทุนทั้งหลาย ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยมากจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าดอกเบี้ยธนาคาร โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนเป็นลบ ซึ่งหมายความว่าจะขาดทุนนั้น โอกาสเกิดน้อยมาก และกองทุนรวมตลาดเงินส่วนใหญ่นั้นมีความผันผวนน้อยมาก

กองทุนรวมตลาดเงินนั้น มีสภาพคล่องสูง เพราะกองทุนประเภทนี้ของทุกบริษัท สามารถซื้อขายได้ทุกวัน ทำให้เมื่อท่านต้องการใช้เงินเมื่อใด ท่านสามารถขายคืนโดยท่านสามารถรับเงินได้ในวันทำการถัดไป (T+1) แม้ว่าจะไม่ได้เงินทันทีเหมือนกับเงินฝากธนาคาร แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า
เนื่องจากรัฐบาลได้มีการออก พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้น โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พศ. 2551 โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคล บริหารงานและกำหนดนโยบายโดยคณะกรรมการ ประกอบด้วยประธาน ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี
   หน้าที่หลักของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก คือ  
1. คุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงิน
2. เก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อสะสมไว้เป็นกองทุน
คุ้มครองเงินฝาก สำหรับใช้ในการจ่ายคืนเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินหากสถาบัน การเงินใดถูกปิด

http://www.dpa.or.th/main.php?filename=index

โดยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองเงินฝากโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

ปีที่ ระยะเวลา จำนวนเงินที่คุ้มครอง
1 11 ส.ค. 51 – 10 ส.ค. 52 เต็มจำนวน
2 11 ส.ค. 52 – 10 ส.ค. 53 เต็มจำนวน
3 11 ส.ค. 53 – 10 ส.ค. 54 เต็มจำนวน
4 11 ส.ค. 54 – 10 ส.ค. 55 ไม่เกิน 50 ล้านบาท
5 11 ส.ค. 55 เป็นต้นไป ไม่เกิน 1 ล้านบาท

* อนึ่งปัจจุบันได้มีการแก้ไขเปลี่ยนเป็น

วงเงินการคุ้มครองเงินฝาก

ระยะเวลาที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต

กำหนดวงเงินความคุ้มครองเงินฝาก

ปัจจุบัน ถึงวันที่ 10 ส.ค. 2559

จำนวน 25 ล้านบาท

ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2559 – 10 ส.ค. 2561

จำนวน 15 ล้านบาท

ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2561 – 10 ส.ค. 2562

จำนวน 10 ล้านบาท

ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2562 – 10 ส.ค. 2563

จำนวน 5 ล้านบาท

ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

จำนวน 1 ล้านบาท

การคุ้มครองเงินฝากนั้นเน้นตุ้มครองผู้ฝากรายย่อย ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ในระบบมิให้ได้รับผลกระทบในกรณีที่สถาบันการเงินถูกสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ระบบนี้ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ฯ โดยอัตโนมัติ ผู้ฝากเงินไม่ต้องกังวล หรือ ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก อีกทั้งเมื่อสถาบันการเงินใดถูกเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
หมายเหตุ : วงเงินคุ้มครองตามมติ ครม. วันที่ 26 เม.ย. 59
การคุ้มครองเงินฝากนี้เป็นระบบที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบสถาบันการเงินและจ่ายเงินคืนผู้ฝากภายในวงเงินที่กำหนดในกรณีที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองถูกปิดกิจการ โดยไม่ต้องรอขอรับชำระหนี้จากการชำระบัญชีทรัพย์สิน

ในปัจจุบันนี้มีประเทศ ที่มีระบบคุ้มครองเงินฝาก ทั้งสิ้น 106 ประเทศ

 

เพื่อเป็นการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนให้กับผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ในระบบ เพราะในปัจจุบันจำนวนผู้ฝากเงินในระบบของไทยฝากเงินคนละไม่เกิน 1 ล้านบาท มีถึง 98.94% *1 คือ หากสถาบันการเงินล้ม ผู้ฝากเงิน 985 คนใน 1,000 คน ได้รับการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน สำหรับผู้ฝากเงินจำนวน 15 คน ใน 1,000 คน ก็ได้รับการคุ้มครองเริ่มต้น 1 ล้านบาทไว้ก่อน และรอรับเงินฝากส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท จากการเฉลี่ยคืนที่ได้จากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตต่อจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

*1 ที่มาจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย : 
http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=188&language=th

วงเงินสูงสุดที่ผู้ฝากเงินแต่ละรายจะได้รับเงินฝากคืน ไม่ว่าผู้ฝากเงินรายนั้นจะมีบัญชีเงินฝากอยู่กี่บัญชีในสถาบันการเงิน 1 แห่ง ซึ่งมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ถ้ามีเงินฝากไว้หลายบัญชีหรือในสาขาหลายแห่งของสถาบันการเงินแห่งเดียวกัน จะนำเงินฝากในทุกบัญชีของผู้ฝากเงินแต่ละรายมาบวกรวมกันก่อน

ตัวอย่าง นายสมชายมีเงินฝาก ดังนี้

                  ธนาคาร ก.ไก่
สาขาเชียงใหม่             500,000 _บาท
สาขาลำพูน                 700,000 _บาท
รวมเงินฝาก                 1,200,000 บาท  
                      ธนาคาร ข.ไข่ สาขาบางกะปิ           650,000 บาท
สาขาพัทยา            100,000 บาท
รวมเงินฝาก             750,000 บาท 
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
หากธนาคาร ก.ไก่ ถูกปิดกิจการนายสมชายจะได้รับเงินฝากคืนเต็มจำนวน คือ  1,200,000 บาท  
 
หากธนาคาร ข.ไข่ ถูกปิดกิจการนายสมชายจะได้รับเงินฝากคืนเต็มจำนวน คือ 750,000 บาท
หากธนาคาร ก.ไก่ และ ธนาคาร ข.ไข่ ถูกปิดกิจการพร้อมกัน  นายสมชายจะได้รับเงินฝากในธนาคาร ก.ไก่ คืน 1,200,000 บาท และได้รับเงินฝากในธนาคาร ข.ไข่ คืน 750,000 บาท
ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562
หากธนาคาร ก.ไก่ ถูกปิดกิจการนายสมชายจะได้รับเงินฝากคืน  1,000,000 บาท    
 
หากธนาคาร ข.ไข่ ถูกปิดกิจการนายสมชายจะได้รับเงินฝากคืน  750,000 บาท  
หากธนาคาร ก.ไก่ และ ธนาคาร ข.ไข่ ถูกปิดกิจการพร้อมกัน นายสมชายจะได้รับเงินฝากในธนาคาร ก.ไก่ คืน 1,000,000 บาท (ส่วนที่เหลือรอรับจากการเฉลี่ยคืนทรัพย์สินของธนาคาร ก.ไก่) และได้รับเงินฝากในธนาคาร ข.ไข่ คืน 750,000 บาท 

ตามสัดส่วนของแต่ละคนที่เป็นเจ้าของบัญชีร่วมตามหลักฐานที่สถาบันการเงินมี หากไม่ทราบสัดส่วนให้แบ่งเท่ากัน และนำไปรวมกับบัญชีเดี่ยวของแต่ละคนที่มี รวมแล้วได้รับความคุ้มครองไม่เกินจำนวนที่กำหนด ตัวอย่าง นายสมชายและนางสมหญิงมีเงินฝากที่ธนาคาร ก.ไก่ ดังนี้
ตัวอย่าง นายสมชายและนางสมหญิงมีเงินฝากที่ธนาคาร ก.ไก่ ดังนี้

ชื่อบัญชี จำนวน (บาท) ส่วนของ นายสมชาย ส่วนของ นางสมหญิง
นายสมชาย   800,000  800,000 
นางสมหญิง   350,000  350,000 
นายสมชายและ นางสมหญิง 900,000 450,000  450,000 
รวม  2,050,000  1,250,000  800,000  

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
หากธนาคาร ก.ไก่ ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
- นายสมชายจะได้รับเงินฝากคืนเต็มจำนวน คือ 1,250,000 บาท
- นางสมหญิงจะได้รับเงินฝากคืนเต็มจำนวน คือ 800,000 บาท

ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562
หากธนาคาร ก.ไก่ ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
- นายสมชายจะได้รับเงินฝากคืน 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือรอรับจากการเฉลี่ยคืนทรัพย์สินของธนาคาร ก.ไก่
- นางสมหญิงจะได้รับเงินฝากคืน 800,000 บาท 

การคุ้มครองเงินฝากคุ้มครองนิติบุคคลด้วยเหมือนกับบุคคลธรรมดา
ดูได้ที่ website สถาบันคุ้มครองเงินฝาก http://www.dpa.or.th-> กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -> พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
สินทรัพย์ทางการเงินแต่ละกลุ่มประเภท เช่นตราสารทุน ตราสารหนี้นั้น จะให้ผลตอบแทนที่ดีหรือแย่แตกต่างกันในแต่ละปี และเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดา อีกทั้งการที่เราจะลงทุนทั้งหมดในสินทรัพย์ประเภทเดียวถือเป็นความเสี่ยงอย่างสูงหากสินทรัยพ์ประเภทนั้นเกิดปัญหา เช่นก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งในปี ค.ศ. 1997 นั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในปี ค.ศ. 1994 เคยสูงสุดที่ 1,753.73 จุด แต่หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้งดัชนีได้ลดลงเหลือเพียง 207.40 จุดในปี ค.ศ.1998 ลดลงถึง 88.17% ดังนั้นหากใครลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเดียวอาจได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นเราควรบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายกลุ่มประเภท ดังคำกล่าวที่ว่า “ อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าใบเดียวกัน” 

หากท่านประสงค์จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดสำรับการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวท่าน

ติตต่อเจ้าหน้าที่ของ ฟิลลิป ฟันด์ ซุปเปอร์มาร์ท ที่หมายเลข 02 635 17 18
เจ้าหน้าที่ทุกท่านยินดีให้บริการครับ

จริงอยู่เมื่อเพิ่งเริ่มทำงาน อายุยังน้อยยังมีเวลาหารายได้อีกนานกว่าจะเกษียณ จึงคิดว่าสามารถรับความเสี่ยงได้สูง และหากขาดทุนจากการลงทุนก็ยังมีเวลาให้สถานการณ์ฟื้นตัวขึ้นจนกลับมามีกำไร แต่การลงทุนทั้งหมดในหุ้นนั้นอาจเป็นการลงทุนที่เสี่ยงเกินไป เหมือนการวิ่งที่เราพุ่งสุดตัวจนอาจทำให้ล้มบาดเจ็บได้

ถ้าท่านอายุน้อยและลงทุนในหุ้นทั้งหมดหากตลาดเกิดภาวะวิกฤตท่านอาจขาดทุนมหาศาลได้ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวหากท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินแต่ท่านนำเงินที่มีลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดท่านอาจจำเป็นต้องขายตราสารทุนในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน(NAV) ที่ท่านซื้อมามาก  ทำให้ท่านต้องประสบกับภาวะขาดทุนโดยไม่มีทางเลือก

เปรียบดังท่านใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว เมื่อตะกร้าใบนั้นตกลงพื้น ความเสียหายก็มาก แต่หากเรามีการกระจายความเสี่ยงก็เหมือนกับการ “ใส่ใข่ไว้ในตะกร้าหลายใบ” หากตะกร้าใบใดใบหนึ่งตกลงพื้นทำให้ใข่แตก ใข่ในตะกร้าใบอื่น ๆ ก็ยังอยู่  เราจึงไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเพียงอย่างเดียว ควรกระจายเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่นกรณีที่อายุน้อยนี้ท่านก็ควรมีสินทรัพย์สภาพคล่องสูงหรือเงินสดสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินด้วย โดยตามมาตรฐานนั้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ท่านสำรองเงินยามฉุกเฉินไว้ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนของท่าน เผื่อกรณีมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินแบบกระทันหัน เช่น การซ่อมรถ เจ็บป่วย หรือต้องออกจากงาน อย่างน้อยท่านยังสามารถมีเงินส่วนหนึ่งเพียงพอให้ท่านปรับตัวแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ 

ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือผู้ที่ต้องการกระจายสินทรัพย์การลงทุนมักเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ไว้ในพอร์ตการลงทุนของตนเอง โดยทั่ว ๆไปนั้นกองทุนรวมตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนรวมตราสารทุน

สำหรับกองทุนประเภทตราสารหนี้นั้น สามารถแบ่งการลงทุนในตราสารได้เป็น การลงทุนในตราสารของภาครัฐและภาคเอกชน โดยตราสารภาครัฐนั้น อาจจะเป็น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีความเสี่ยงด้านผิดนัดชะระหนี้ที่ต่ำมาก ในส่วนตราสารภาคเอกชนนั้นจะมีความเสี่ยงสูงกว่าในเรื่องความมั่นคงของสถานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ตามกำหนด
    

กองทุนรวมตราสารหนี้นั้น    สามารถแบ่งตามอายุของพอร์ตการลงทุนได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
2) กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว โดยกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นนั้น พอร์ตการลงทุนจะมีอายุเฉลี่ยของตราสารในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1 ปี ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว พอร์ตการลงทุนจะมีอายุเฉลี่ยของตราสารในขณะใดขณะหนึ่งเกิน 1 ปี

การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่าตราสารทุนนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรทราบความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้   ซึ่งความเสี่ยงที่ว่านี้ ได้แก่

  • ความเสี่ยงทางเครดิต (Default Risk หรือ Credit Risk)
  • ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk หรือ Interest Rate Risk หรือ Market Risk)

 

1. ความเสี่ยงทางเครดิตหรือความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk หรือ Credit Risk)
ความเสี่ยงประเภทนี้เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่นักลงทุนต้องคำนึงถึงก่อนการลงทุน เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ก็เปรียบเสมือนการให้เงินกู้แก่ผู้ออกตราสาร โดยมีสัญญาว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามงวดเวลาที่ตกลง และจะชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดเวลา ดังนั้น นักลงทุนควรพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และความมั่นคงของผู้ออกตราสารอย่างรอบคอบ เพื่อจำกัดความเสี่ยงนี้
     ตราสารหนี้ที่รัฐบาลออก เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือ ตราสารหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ถือว่าปลอดความเสี่ยงด้านนี้ สำหรับหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน ข้อมูลที่จะช่วยให้ท่านพิจารณาฐานะและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารได้ง่ายขึ้น ก็คือ อันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit rating ของตราสารหนี้ หรือ ของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ โดยในปัจจุบัน สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดให้หุ้นกู้ภาคเอกชนที่จะออกขายแก่บุคคลทั่วไป จะต้องได้รับการจัดอันดับเครดิต
     หุ้นกู้ที่ผู้ออกไม่สามารถจ่ายชำระคืนดอกเบี้ย และเงินต้นภายในกำหนดได้ จะอยู่ในสถานะ "Default Bond” ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้ต้องฟ้องร้องเพื่อเรียกชำระคืนหนี้ หรือในกรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินเพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทผู้ออกตราสาร ผู้ถือหุ้นกู้ก็จะต้องร่วมในการพิจารณาแผนดังกล่าว เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูกิจการเพื่อโอกาสในการชำระหนี้ในอนาคต

2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย  (Interest Rate Risk or Market Risk or Price Risk)
ตราสารหนี้มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด กล่าวคือ จะมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง และจะมีมูลค่าน้อยลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งตราสารหนี้ระยะยาวนั้นจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยมากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น

ที่มา : สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA

ทั้งนี้กองทุนตราสารหนี้ทั้งหลายตามกฎของ ก.ล.ต.จะต้องใช้ราคาตลาดของตราสารหนี้มาคำนวณราคา NAV.ในแต่ละวัน หรือที่เรียกว่า(mark to market) ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่กองทุนถืออยู่ โดยกรณีที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้น จะทำให้ราคาของตราสารหนี้มีมูลค่าน้อยลง จึงส่งผลให้ราคา NAV ของกองทุนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงด้วย 
 
ในกรณีกองทุนปิดนั้น ไม่ได้หมายความว่า กองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุนจะขาดทุนแท้จริงทันทีหากท่านถือหน่วยลงทุนจนครบอายุของกองทุนท่านก็จะยังคงได้รับผลตอบแทน(ดอกเบี้ย) ที่ระบุไว้

ในกรณีกองทุนเปิด หากท่านตัดสินใจไถ่ถอนหน่วยลงทุนกองทุนรวมต้องขายตราสารหนี้ที่ถืออยู่ในราคาถูก(ราคาตลาด) เพื่อนำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และทำให้เกิดผลขาดทุนที่แท้จริงทันที

กรณีผู้ลงทุนเคยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนพันธบัตรรัฐบาล ตอนขายก็ขาดทุน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยตามตัวอย่างด้านบนนี้นี่เอง
ดังนั้นการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาวนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่เช่นนั้นผู้ลงทุนอาจประสบกับภาวะขาดทุนได้ 

กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (EQUITY FUND) : กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ในตราสารทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

โดยทั่วไปแล้วกองทุนรวมตราสารแห่งทุน มีความเสี่ยงหรือความผันผวนของผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ หรือกองทุนผสม จึงเหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่คาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูง แต่จะต้องยอมรับความเสี่ยงได้สูง และสามารถลงทุนระยะยาวได้
    

อัตราผลตอบแทนย้อนหลังของตลาดหลักทรัพย์
 

ปี (ค.ศ.) การเปลี่ยนแปลง(%)
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์
1999    35.11%
2000  -46.00%
2001   11.70%
2002   16.81%
2003 119.66%
2004   -15.53%
2005    6.83%
2006    -6.31%
2007    30.16%
2008  -46.62%
2009   53.45%
2010 41.03%
สูงสุด 119.66%
ต่ำสุด   -46.62%

 

จากข้อมูลด้านบนนี้ท่านจะเห็นว่าในช่วง 12 ปีที่ผ่านมานั้น ตลาดหลักทรัพย์มีปีที่ผลตอบแทนติดลบเพียง 4 ปีเท่านั้น แต่มีปีที่ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 8 ปีเลยทีเดียว และในปีที่ตลาดติดลบสูงสุดในปี 2008 ติดลบถึง -46.62% และในปีสูงสุด คือในปี 2003 สูงถึง 119.66% การลงทุนในหุ้นนั้น ยิ่งมีระยะเวลาลงทุนนานเท่าไร ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะยิ่งมีความผันผวนน้อยลง

ตัวอย่างด้านล่างนี้ หากท่านลงทุนด้วยเงินเริ่มต้น 100 บาท เมื่อต้นปี ค.ศ.1999 ในตลาดหลักทรัพย์ (สมมุติฐานให้ผลตอบแทนตามดัชนี SET)
 

                              เงินลงทุนเริ่มต้น =  100บาท
ปี (ค.ศ.) อัตราผลตอบแทน มูลค่าเงินลงทุน
100.00
1999    35.11% 135.11
2000  -46.00% 72.96
2001   11.70% 81.50
2002   16.81% 95.20
2003 119.66% 209.11
2004   -15.53% 176.63
2005    6.83% 188.70
2006    -6.31% 176.79
2007    30.16% 230.11
2008  -46.62% 122.83
2009   53.45% 188.49
2010 41.03% 265.82

มูลค่าเงินลงทุนของท่านเมื่อสิ้นปี 2010 จะมีมูลค่า เท่ากับ 265.82

อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงความเสี่ยงในการลงทุน และความสามารถของตนเองในการรับความเสี่ยงจากการลงทุนนั้น รวมถึงการจัดสำรับการลงทุนให้เหมาะสม ไม่ควรลงทุนทั้งหมดในตราสารทุน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ

ก่อนอื่นขออธิบายกองทุนทองคำก่อนกองทุนน้ำมัน นะครับ
     กองทุนรวมทองคำ(Gold Fund) ที่กำลังเป็นที่นิยมของนักลงทุนทั้งหลายนั้น โดยมีหลาย บลจ.ออกกองทุนทองดังกล่าว เช่น บลจ.ทหารไทย กสิกรไทย MFC หรือ AYF ซึ่งจะนำเงินจากนักลงทุนในประเทศไปลงทุนผ่านกองทุน SPDR Gold Shares ในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง กองทุนSPDR Gold Trust เป็นกองทุนเปิดดัชนีที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาด 4 แห่งด้วยกันได้แก่ นิวยอร์ก สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น

กองทุน SPDR Gold Trust เป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดการให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำ กองทุนเน้นการสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำแท่งในตลาดลอนดอน คือ London Gold PM Fix Price ในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สะดวกสบายมากกว่าเพราะผู้ลงทุนไม่ต้องเก็บรักษาทองคำแท่งด้วยตนเอง เนื่องจากกองทุน SPDR Gold Trust มีผู้เก็บรักษาทองคำแท่งให้ ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ สหรัฐอเมริกา (HSBC Bank USA, N.A.)

ทองคำแท่งที่กองทุนลงทุนนี้จะอยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และจะมีการเก็บรักษาไว้ในห้องนิรภัยของ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ในกรุงลอนดอน

ในส่วนของกองทุนน้ำมันนั้น
เนื่องจากน้ำมันไม่มีความสะดวกในการเก็บรักษาเหมือนทองเพราะจะต้องใช้ถังเก็บในปริมาณที่มากซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อีกทั้งปัญหาเรื่องความปลอดภัยจากการวินาศกรรมอีก กองทุนน้ำมันที่มีการออกจำหน่ายโดย บลจ.ต่างๆในประเทศไทยนั้นเป็นกองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ(FIF) แบบ Feeder Fund โดยไปลงทุนใน Power Shares DB Oil Fund บริหารโดย DB Commodity Services LLC. (DBO) กองทุนดังกล่าวไปลงทุนในสัญญา Futures ในตลาด NYMEX ที่สหรัฐ ที่อ้างอิงราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีน้ำมันที่ชื่อว่า Deutsche Bank Liquid Commodity Index - Optimal Yield Oil Excess Return

การลงทุนในกองทุนน้ำมันนี้ กองทุนน้ำมันลงทุนในสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้าโดยเลือกสัญญาใดสัญญาหนึ่งใน 12 เดือนล่วงหน้าด้วยกลยุทธ์ Optimum Yield เพื่อลดผลกระทบของ Negative Roll Yield ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคา NAV กอง DBO จะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาที่ถือเมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน Nymex ซึ่งอ้างอิงกับสญญาเดือนใกล้สุด จึงทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นระหว่างราคา NAV ของกองทุน DBO และ Nymex. 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.) เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนโดยมีคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน โดยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยทำหน้าที่หลักในการกำกับดูแลตลาดทุนไทย ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดภารกิจหน้าที่หลักขององค์กรไว้ดังนี้


     “กำกับและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ”

ภายใต้แผนกลยุทธ์ปี 2553 - 2555 ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.โดยมุ่งเน้น 4 ด้านหลัก คือ

  • ดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาด
  • คุ้มครองผู้ลงทุน
  • เอื้ออำนวยให้เกิดนวัตกรรมในตลาดทุน
  • ส่งเสริมการแข่งขัน

 

 

ผลขาดทุนเกิดจากส่วนต่างของราคา NAV ต่อหน่วย (มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย) กับ ราคา OFFER ต่อหน่วย (ราคาที่บลจ.เสนอขายต่อผู้ลงทุน) ซึ่งส่วนต่างเป็นจำนวน 0.0001 บาท/หน่วยนั้น เป็นค่าธรรมเนียมการซื้อที่เป็นจำนวนที่ต่ำมาก ถึงแม้ว่าท่านจะทำการขายหน่วยลงทุนนั้นในวันทำการถัดจากวันที่ซื้อ หากไม่มีความเสี่ยงด้านอื่นๆ เช่น การผิดนัดชำระของผู้ออกตราสาร ท่านก็จะไม่ควรมีโอกาสขาดทุน แต่ผลตอบแทนที่ได้ อาจจะยังไม่ถึงในระดับที่สม่ำเสมอตามที่ควรจะเป็น ทั้งนี้ควรจะมีระยะเวลาการลงทุน 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ถึงจะได้ตอบแทนในระดับที่สม่ำเสมอ 

NAV คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน คำนวณจากการนำทรัพย์สินทั้งหมดมาหามูลค่าปัจจุบัน โดยใช้ราคาปิดในตลาดการซื้อขายทรัพย์สินนั้นๆ เช่น ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วนำมาหักด้วยค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และบวกด้วยรายได้ค้างรับ เมื่อทราบ NAV แล้ว หากนำมาหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด ก็จะได้ราคาหน่วยลงทุน หรือ ที่เรียกว่า NAV per unit

BID คือ ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ผู้ลงทุนขายหน่วยลงทุนให้กับบริษัทจัดการกองทุน) ได้จากการนำ NAV per unit มาหักค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะไม่ค่อยมีค่าใช้จ่ายตัวนี้ ทำให้ ราคา BID เท่ากับ ราคา NAV per unit

OFFER คือ ราคาเสนอขายหน่วยลงทุน (ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนจากบริษัทจัดการกองทุน) ซึ่งก็คือ NAV per unit บวกด้วยค่าธรรมเนียมการขายของบริษัทจัดการกองทุน ถือเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ลงทุน ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับหลายๆส่วนประกอบกัน เช่น ประเภทการลงทุนของกองทุน วิธีการลงทุน

ท่านสามารถติดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประจำวันได้หลายช่องทาง เช่น จากหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ หรือติดตามหรือจากเว็บไซต์ของ บลจ. หรือในเว็บไซต์ของบริษัทฟิลลิปนี้ ซึ่งจะรวบรวมมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประจำวันของกองทุนต่าง ๆ จาก 18 บลจ.ซึ่งเราเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ หรือหากท่านประสงค์จะติดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประจำวันของกองทุนของ บลจ.ต่างๆที่ท่านได้ลงทุนผ่าน ฟิลลิป ฟันด์ ซุปเปอร์ มาร์ท ซึ่งท่านจะได้รหัสประจำตัว ท่านสามารถทำการ log in และเลือกเมนู Phillip Fund SuperMart และเลือกดูที่ เมนู “กองทุนที่ถืออยู่” ซึ่งจะแสดง มูลค่า NAV ของกองทุนที่ท่านได้ทำการซื้อผ่าน ฟิลลิป และยังคงถืออยู่

 

 

คือกองทุนเปิดที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เป็นกองทุนที่มีการจ่ายเงินคืนให้ผู้ลงทุนเป็นงวด ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับเงินปันผล แต่กรณีที่เป็นเงินปันผลนั้น เรามีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี หรือยอมถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แล้วไม่ต้องนำปันผลนั้น ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี ส่วนการ Auto Redemption หรือการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัตินั้น จะเป็นการจ่ายผลตอบแทนในลักษณะที่บลจ.จัดการให้ลูกค้าทำการถอนหรือขายหน่วยลงทุนตามจำนวนที่จะจ่ายผลตอบแทน โดยไม่ต้องให้ลูกค้าเขียนคำสั่งขายกองทุนเอง ซึ่งโดยวิธีนี้ หากเป็นบุคคลธรรมดาจะไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรจากการขายหน่วยลงทุนแต่ประการใด

ตัวอย่างเช่น หาก บลจ.จ่ายปันผลที่ 3% เราจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หรือเท่ากับ 0.3% ดังนั้นผลตอบแทนที่เราจะได้รับจะเหลือเพียง 2.7% แต่หากเป็นการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ผลตอบแทนจะเป็น 3.0% เนื่องจากบุคคลธรรมดาจะไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน

ทั้งนี้สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ auto redemption คือเมื่อเราได้รับเงินเงินจากการ auto redemption หรือขายคืนอัตโนมัติเข้ามา แต่ในขณะเดียวกันจำนวนหน่วยของเราจะลดลง ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราลงทุนในกองทุนประเภทนี้ไป 1,000 บาท (100 หน่วย ๆ ละ 10 บาท) สมมติกองทุนเกิดดอกผลขึ้น 100 บาท รวมแล้วเป็น 1,100 บาท ถ้าหากกองทุนนั้นทำ auto redemption ส่วนของดอกผลนั้นทั้งหมดคืนให้แก่ผู้ถือหน่วย ก็จะได้เงินส่วนที่เพิ่ม 100 บาทกลับมา (โดยไม่เสียภาษี) แต่ในส่วนจำนวนหน่วย เมื่อตอนที่เงินลงทุนบวกดอกผลแล้วเท่ากับ 1,100 บาท มูลค่าต่อหน่วยจะขยับจาก 10 บาทไปเป็น 11 บาท ในขณะที่จำนวนหน่วยลงทุนของเรามิได้เปลี่ยนแปลง ยังเป็น 100 หน่วยเท่าเดิม พอถึงเวลาที่ได้คืนกลับมาให้เรา 100 บาท จำนวนหน่วยของเราก็จะถูกลดลงไปจำนวนเท่ากับจำนวนเงิน (100 บาท) ที่ได้รับหารด้วยราคารับซื้อคืนของวันที่มีการ auto redemption (11 บาทต่อหน่วย) ซึ่งก็คือลดลงไป 9.09 หน่วย ดังนั้น เราจะมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ 90.91 หน่วย แต่ เมื่อดูมูลค่าเงินลงทุนเรายังมีเท่าเดิมคือ 1,000 บาท (90.91 X 11 บาท)

 

บล.ฟิลลิป ทำหน้าที่ทางบัญชี และทำหน้าที่ออกใบยืนยันให้กับลูกค้า 
ซึ่งหน่วยลงทุนของลูกค้าจะถูกจัดเก็บที่ custodian ของ บลจ. โดยแยกเก็บเป็นราย account ของลูกค้า 
บริษัทหลักทรัพย์ จะทำระบบบัญชีแบบ omnibus ได้ ต้องได้รับใบอนุญาตจาก กลต. โดย กลต.จะมีการมาตรวจระบบทั้งหมดก่อนออกใบอนุญาตให้ 
ระบบ omnibus จะ map unit holder กับ code ลูกค้าเข้าด้วยกัน และจะส่งคำสั่งตามรหัสลูกค้าไปยัง บลจ. 
โดยทุก บล. (รวมทั้ง บล.ฟิลลิป)  จะต้องมีเงินทุนสำรองฝากไว้กับ กลต. ซึ่งเสมือนเป็นเงินประกัน