กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนประเภทตราสารแห่งทุน (ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAV) โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล และ ไม่จ่ายเงินปันผล ซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดีแตกต่างกัน กล่าวคือ กองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล หากกองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดี ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้กระแสเงินสดรับ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาการลงทุน แต่เงินปันผลที่ได้รับนี้จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 10% ส่วนกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล แม้จะไม่มีกระแสเงินสดรับ แต่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูป Capital gain ที่สูงกว่า เนื่องจากหากกองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดี ผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนในกองทุนประเภทนี้ จะนำไปลงทุนต่อ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น
กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่ได้รับการลดหย่อนภาษี มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
ลักษณะ |
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ |
1. นโยบายการลงทุน |
มีนโยบายเดียว คือ กองทุนตราสารทุน (หุ้น) |
กองทุนมีนโยบายการลงทุนใดก็ได้ ทั้งกองทุนหุ้น, ตราสารหนี้ , กองทุนผสม, ผสมแบบยืดหยุ่น เป็นต้น |
2. จำนวนเงินที่ซื้อขั้นต่ำต่อปี |
ไม่กำหนด |
ไม่น้อยกว่า 3 % ของเงินได้ หรือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท |
3. จำนวนเงินได้สูงสุดที่ลงทุนที่นำไปลดหย่อนภาษีได้ |
ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี สูงสุด 500,000 บาท โดยไม่รวมกับวงเงินของ RMF |
ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. |
4. การซื้อหน่วยลงทุน |
ไม่ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี |
ต้องซื้ออย่างน้อยที่สุดปีเว้นปี แต่หากไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น ก็สามารถระงับการซื้อได้ |
5. เงื่อนไขการถือครอง เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี |
ต้องถือหน่วยลงทุนที่ซื้อแต่ละครั้ง ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฎิทิน ยกเว้นตาย หรือทุพพลภาพ |
ต้องถือหน่วยลงทุนจนอายุครบ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมด |
6. อายุกองทุน |
ไม่กำหนด แต่สิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้ช่วง 10 ปีแรก หลังจากจัดตั้งกองทุน |
ไม่กำหนด |
7. ระยะเวลาจัดตั้ง และจดทะเบียนกองทุน |
ภายในมิถุนายน 2550 |
ไม่กำหนด |
|
จากที่ทราบกันแล้วว่าการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว สามารถนำเงินที่ลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งในหัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
ตัวอย่าง นาย ก เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน เดือนละ 25,000 บาท จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทในอัตราร้อยละ 5 และสิ้นปีได้รับเงินโบนัสจากบริษัท 200,000 บาท จากข้อมูลของนาย ก สามารถนำมาคำนวณภาระภาษีที่นาย ก ต้องจ่าย ดังต่อไปนี้
|
Baht |
รายได้ทั้งปี ที่มาจากเงินเดือนและโบนัส |
500,000 |
หัก ค่าใช้จ่าย 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท |
(60,000) |
ค่าลดหย่อน ผู้มีเงินได้ |
(30,000) |
ค่าลดหย่อน เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (500,000*3%) |
(15,000) |
รวม หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน |
(105,000) |
เงินได้สุทธิ |
395,000 |
ภาษีในแต่ละขั้นที่ต้องเสีย มีดังนี้
|
Taxable income |
Tax rate Tax amount |
100,000 |
เสียภาษีในอัตรา 0 %
|
= 0 บาท |
295,000 |
เสียภาษีในอัตรา 10 % |
= 29,500 บาท |
รวม 395,000
|
เสียภาษีเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น |
= 29,500 บาท |
จากภาระภาษีที่นาย ก ต้องจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 29,500 บาท นาย ก สามารถลดภาระภาษีลงได้ ถ้าไปลงทุนในกองทุน LTF ที่สามารถลดหย่อนภาษีจากเงินลงทุน ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ดังนี้
ลงทุนในกองทุน LTF (500,000 * 0.15) |
= 75,000 บาท |
เงินได้สุทธิใหม่ (395,000 - 75,000) |
320,000 บาท |
ภาษีที่ต้องเสีย (ใหม่) |
= 22,000 บาท |
ภาระภาษีที่จ่ายลดลง (29,500 - 22,000) |
= 7,500 บาท |
แต่ถ้านาย ก ได้มีการลงทุนเพิ่มในกองทุน RMF นาย ก ก็จะสามารถลดภาระภาษีเพิ่มได้อีก ดังนี้
|
RMF |
ลงทุนทั้งRMF และ LTF |
เงินได้สุทธิ |
395,000 |
395,000 |
สิทธิค่าลดหย่อนที่ได้รับจากการลงทุน |
-60,000 |
-135,000 |
เงินได้สุทธิหลังหักเงินลงทุน |
335,000 |
260,000 |
ภาษีที่ต้องเสีย(ใหม่)(จากเดิมที่ต้องเสียภาษี29,500 บาท) |
23,500 |
16,000 |
ภาษีที่จ่ายลดลง |
6,000 |
13,500 |
ลดลงร้อยละ |
20.34% |
45.76% |
|