เงื่อนไขในการลงทุนกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
- ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมอในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอย่างน้อยปีละครั้ง และต้องไม่ระงับการลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน ยกเว้นปีนั้นไม่มีรายได้ก็ไม่ต้องลงทุน
- ผู้ลงทุนต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในปีนั้น หรือ อย่างน้อย 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
- ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และ ลงทุนจนมีอายุครบ 55 ปี
- ถ้าผู้ลงทุนละเมิดเงื่อนไขใน 3 ข้อแรก หรือทำการขายบางส่วนของกองทุนก่อนครบระยะเวลาการลงทุน พร้อมทั้งผู้ลงทุนได้ประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วงเวลา 5 ปีเรียบร้อยแล้ว ผู้ลงทุนสามารถนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพใหม่นี้ ต่อเนื่องกับระยะเวลาการลงทุนเดิมได้
- ถ้าผู้ลงทุนได้ลงทุนมาเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี และ มีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือ เป็นบุคคลทุพพลภาพ ผู้ลงทุนสามารถถือครองหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไปได้ โดยจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้
- เงินรายได้ที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และ ได้นำไปหักภาษีเรียบร้อยแล้ว เงินรายได้นี้ไม่สามารถนำไปหักภาษีได้อีกในปีต่อไป
- ผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปจำหน่ายจ่ายโอน จำนำ หรือนำไปเป็นหลักประกัน
ประเภทเงินรายได้ที่อยู่ในข้อกำหนดของการลงทุน
- เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง บำเหน็จ บำนาญ เป็นต้น
- เงินรายได้จากการรับทำงานให้
- เงินรายได้จากค่าลิขสิทธิ์
- เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น ด้านกฎหมาย การแพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และ ศิลปกรรม เป็นต้น
- เงินได้จากการรับโอนมาทางมรดก
- เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และ การขนส่ง
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพลงทุนในอะไร ?
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจัดอยู่ในประเภทเดียวกับหน่วยลงทุน ดังนั้นจึงสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ หรือ ประเภทสินทรัพย์เดียวกันกับหน่วยลงทุน เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ เงินฝาก ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารอื่นๆ เช่น ทองคำ ตลอดจนใบสำคัญแสดงสิทธิ
|
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เราจะแสดงวิธีการคำนวณหาจำนวนเงินรายได้ที่ได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี
ตัวอย่าง คุณพึงมีเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท โดยในปีนี้คุณพึงมีจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงิน 5% ของรายได้ หรือ 30,000 บาท ถ้าคุณพึงมีต้องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อยากทราบว่า เงินได้จำนวนเท่าไรที่คุณพึงมีสามารถลงทุนในกองทุน เพื่อให้ได้รับสิทธ์ประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
วิธีคำนวณ |
Baht |
รายได้ทั้งปี |
600,000 |
จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
30,000 |
เงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษี | = เงินได้สูงสุดที่ได้รับยกเว้นภาษี - เงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
| = 500,000 - 30,000 |
| = 470,000 บาท |
|
|
แต่ 15% ของเงินได้ของคุณพึงมี = 600,000 x 15% = 90,000 บาท และมีเงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก 30,000 บาท
ดังนั้น คุณพึงมีสามารถลงทุน 15% ของรายได้ หรือ 90,000 บาท หักด้วยเงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 30,000 บาท จึงสามารถลงทุนได้สูงสุด 90,000 30,000 = 60,000 บาท
ตัวอย่าง คุณพอเก็บ เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ในส่วนของค่าจ้างแรงงาน 1,500,000 บาท และ รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ 1,000,000 บาท รวมเงินได้ทั้งปีของคุณพอเก็บ เท่ากับ 2,500,000 บาท คุณพอเก็บเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท โดยจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน 5% ของรายได้ทั้งปี เป็นเงิน 75,000 บาท ถ้าคุณพอเก็บต้องการนำเงินได้ไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นจำนวน 250,000 บาท คุณพอเก็บจะสามารถรับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีจากเงินลงทุนทั้งหมดหรือไม่
วิธีคำนวณ |
Baht |
รายได้ทั้งปี |
2,500,000 |
จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
75,000 |
เงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษี | = เงินได้สูงสุดที่ได้รับยกเว้นภาษี - เงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
| = 500,000 - 75,000 |
| = 425,000 บาท |
|
15% ของเงินได้ของคุณพอเก็บ = 2,500,000 x 15% = 375,000 บาท และเมื่อหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว จะคงเหลือ = 375,000-75,000 = 300,000 บาท
คุณพอเก็บต้องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ด้วยเงินได้จำนวน 250,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท
ดังนั้น คุณพอเก็บ จะได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินได้ทั้งหมดที่นำไปลงทุน 250,000 บาท |